เมนู

ให้เหมือนเดิมด้วยความลำบากอีก. แม้พวกอสูรเหล่านั้นก็ทำให้พินาศอย่างนั้น
บ่อย ๆ. เพราะฉะนั้น พวกฤาษีสดับว่า บัดนี้ สงความระหว่างเทวดาและ
อสูรปรากฏขึ้นดังนี้ จึงคิดอย่างนั้น. บทว่า กามํ กโร ได้แก่ กระทำตาม
ความปรารถนา. บทว่า ภยสฺส อภยสฺส วา แก้เป็น ภยํ วา อภยํ วา
แปลว่า ภัย หรือ อภัย. ท่านอธิบายข้อนี้ไว้ว่า หากท่านประสงค์จะให้อภัยก็
พอให้อภัยได้ หากท่านประสงค์จะให้ภัยก็พอจะให้ภัยได้ แต่สำหรับพวกอาตมา
ท่านจงให้อภัยทานเถิดดังนี้. บทว่า ทุฏฐานํ แปลว่า ผู้ประทุษร้ายแล้ว คือ
ผู้โกรธแล้ว. บทว่า ปวุตฺตํ คืออันเขาหว่านไว้ในนา. บทว่า ติกฺขตฺตุํ
อุพฺพิชฺชติ ความว่า จอมอสูรบริโภคภัตรในตอนเย็นแล้วขึ้นที่นอน นอนพอ
จะงีบหลับ ก็ลุกขึ้นยืนร้องไปรอบ ๆ. เหมือนถูกหอกร้อยเล่มทิ่มแทง. ภพอสูร
หนึ่งหมื่นโยชน์ถึงความปั่นป่วนว่า นี่อะไรกัน. ลำดับนั้น พวกอสูรพากันมา
ถามจอมอสูร นี่อะไรกัน. จอมอสูรไม่พูดอะไรเลย. แม้ในยามที่สองเป็นต้น
ก็มีนัยนี้แล. ด้วยประการฉะนี้ เมื่อพวกอสูรพากันปลอบจอมอสูรว่า อย่ากลัวเลย
มหาราชดังนี้ จนอรุณขึ้น. ตั้งแต่นั้นมา จอมอสูร ก็มีใจหวั่นไหวเกิดอาการไข้
ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จอมอสูรนั้น จึงเกิดชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า
เวปจิตติ.
จบ อรรถกถาสมุททกสูตรที่ 10
จบ วรรคที่ 1


รวมพระสูตรแห่งสักกสังยุตมี 10 สูตร คือ


1. สุวีรสูตร 2. สุสิมสูตร 3. ธชัคคสูตร 4. เวปจิตติสูตร
5. สุภาสิตชยสูตร 6. กุลาวกสูตร 7. นทุพภิยสูตร 8. วิโรจนอสุรินท-
สูตร 9. อารัญญกสูตร 10. สมุททกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

ทุติยวรรคที่ 2



1. ปฐมเทวสูตร



ว่าด้วยวัตรบท 7



[905] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นแล ฯลฯ
[906] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตรบท
7 ประการบริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท 7 ประการ จึงได้ถึงความ
เป็นท้าวสักกะ วัตรบท 7 ประการ เป็นไฉน คือ เราพึงเลี้ยงมารดาบิดาจนตลอด
ชีวิต 1 เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลจนตลอดชีวิต 1 เราพึงพูด
วาจาอ่อนหวานตลอดชีวิต 1 เราไม่พึงพูดวาจาส่อเสียดตลอดชีวิต 1 เราพึงมีใจ
ปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทินอยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยแล้ว
มีฝ่ามืออันชุ่มยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอด
ชีวิต 1 เราพึงพูดคำสัตย์ตลอดชีวิต 1 เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความ
โกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราพึงกำจัดมันเสียโดยฉับพลันทีเดียว 1 ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตร
บท 7 ประการนี้บริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท 7 ประการ ดังนี้ จึง
ได้ถึงความเป็นท้าวสักกะ.
[907] พระผู้มีภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบ
ลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า